อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) คืออะไร

Heat Detectors

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ควรเลือกติดให้ถูกพื้นที่เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Heat Detector เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ทำหน้าที่ตรวจจับไฟข้อแตกต่างของ Heat Detector จะจับอุณภูมิความร้อนจากเปลวไฟไม่ใช่ควันซึ่งไม่เหมือนอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ smoke detector โดยส่วนใหญ่นิยมติดภายในบริเวณห้องเก็บสารเคมี เป็นต้น

1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Electronic Heat Detector Rate-of-Rise) อุปกรณ์ชนิดนี้จะทํางานเมื่อมีอัตราการเพิ่ม ของ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศาเซลเซียสใน 1 นาที ส่วนลักษณะการทํางาน คือ เมื่ออากาศในส่วนด้านบนของส่วนรับความร้อนเกิดถูกความร้อน จะขยายตัวอย่างรวดเร็วมาก จนอากาศที่ขยายไม่สามารถเล็ดลอดออกมาในช่องระบายได้ ทําให้เกิดความดันสูงมากขึ้น และไปดันแผ่นไดอะแฟรมให้ไปดันขาคอนแทคแตะกัน ทําให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนี้ส่งสัญญาณไปแจ้งเหตุยังตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย

2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่(Electronic Heat Detector FixedTemperature) อุปกรณ์ชนิดนี้จะทํางานก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของ Sensors สูงถึงจุดที่ได้กําหนดไว้ ซึ่งมีตั้งแต่ 60 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 150 องศาเซลเซียสในการทํางานจะอาศัยหลักการของโลหะ 2 ชนิดเมื่อถูกความร้อน แล้วเกิดมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวแตกต่างกัน โลหะทั้งสองจะมาแนบติดกัน (Bimetal) ทําให้โลหะเกิดการบิดตัว และ โค้งงอไปอีกด้านหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดมีการขยายตัวที่แตกต่างกัน เมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม

3. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) โดยอุปกรณ์ชนิดนี้จะรวมเอาทั้งคุณสมบัติในการตรวจจับ แบบ Fixed Temperature และ Rate of Rise เข้ามาอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน เพื่อการตรวจจับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ทั้งสองลักษณะ และเพิ่มความไวในการตรวจจับให้ดีขึ้น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบ Electronic Heat Detector ทั้ง 3 แบบที่กล่าวไปนั้น ในการนำไปใช้งานสามารถที่จะเทสทดสอบ การทำงานจริงของอุปกณณ์ก่อนได้ แล้วหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนเมื่อทำการตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ไปได้แล้ว ตัวอุปกรณ์ตรวจจับชนิดนี้ ก็จะยังคงใช้งานได้ตามปกติ

4. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิด Mechanical Heat Detectors จะเป็นอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบที่รวมทั้ง Fixed Temperature และ Rate of Rise เข้ามาทำงานร่วมกันในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน แต่การตรวจจับ แบบ Fixed Temp แผ่นโลหะที่นำมาใช้ในการควบคุมความร้อนเวลาตรวจจับ จะไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อเวลาที่เหตุเพลิงไหม้ดับเป็นปกติแล้ว และอุปกรณ์ชนิด Mechanical นี้ ก็ไม่สามารถนำไปเทสทดสอบ การทำงานจริงของตัวอุปกรณ์ได้เพราะถ้ายังนำไปทดสอบ แผ่นโลหะในการตรวจจับความร้อนก็จะบิดตัวและโค้งงอไปเลย ไม่สามารถใช้งานตรวจจับความร้อนได้อีกต่อไป ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองทำให้อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิด Mechanical Heat Detectors จึงมีราคาขายที่ถูกมากๆ