ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ fire alarm system นั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของเรานั้นมีการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในบริเวณพื้นที่ทำงานของเรา การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะทำให้เราได้รู้ว่าอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่างๆของเราไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ปุ่มกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือระบบตู้ควบคุมแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของเราจะช่วยป้องกันให้เราได้รู้ตัวก่อนที่ไฟจะลุกลามและเกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของเรา

ตรวจสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทุกชนิด อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ปุ่มกดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire alarm system

ตรวจสอบไฟส่องสว่างฉุกเฉิน

ตรวจอุปกรณ์ดับเพลิง

ตรวจสอบไฟส่องสว่างฉุกเฉิน, ตู้เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง, ปุ่มกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

PM อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ

ทำความสะอาด PM

ทำความสะอาดอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ , Heat Detector , Fixed Temperature , Smoke Detector

ทีมงานตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ทีมงานมืออาชีพ

ทีมวิศวกรมืออาชีพประสบการณ์ตรงด้านการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire alarm system

ตรวจสอบแบตเตอรี่ตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ตรวจตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ตรวจสอบตู้คอนโคลความถูกต้องการการสั่งงานไปยังระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตรวจสอบแบตเตอรี่ในตู้ควบคุม fire alarm ขันแน่นจุดต่อสายสัญญาณภายในตู้ควบคุม.

ตรวจอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้

  • โรงงาน
  • ในสำนักงาน
  • อาคารโกดังเก็บของ
  • หอพัก โรงแรม
  • มหาวิทยาลัย
อุปกรณ์ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ตัวอย่างการบริการจากมืออาชีพ

ตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เริ่มต้นอย่างไรดี

การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตรวจไฟอลาม ควรทำการตรวจสอบทุกๆ 1 ปี และต้องทำความสะอาดอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้พร้มใช้งานอยู่เสมอ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ปุ่มกดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตู้ควบคุมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องได้รับการทดสอบแบบทั่วไปประจำเดือนโดยเราสามารถให้ทีมช่างภายในโรงงานหรือบริษัทเราตรวจสอบเบื้องต้นและทดสอบว่าสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ และ เมื่อครบ 1 ปี ควรให้ผู้บริการทำการตรวจสอบและทดสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้พร้อมออกรายงานรับรองการตรวจระบบไฟอลาม

หลายครั้งที่เรามักพบปัญหาระบบ fire alarm เกิดดังขึ้นเองโดยที่ไม่ได้มีเหตุเพลิงไหม้จริงๆสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดพลาดของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือ อุปกรณ์ตัวนั้นๆเกิดความผิดปกติเช่นเกิดเสียงสัญญาณแจ้งเตือนมายังตู้ควบคุมว่ามีการตรวจจับควันไฟได้ในโซน 1 แต่พอเราไปตรวจสอบก็ไม่พบควันไฟเป็นต้น

สาเหตุที่อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ smoke detector ทำงานผิดพลาดเกิดจากสาเหตุที่ไม่ได้มีการทำความสะอาดหรือบำรุงรักษาตัว smoke detector ทำให้เกิดฝุ่นหรือมีแมลงเข้าไปในตัวอุปกรณ์จึงทำให้ smoke detector ส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุมเป็นต้น

ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้กับเราดีอย่างไร

ปัจจุบันเรามีลูกค้ามากกว่า 1000+ บริษัทชั้นนำในประเทศไทยที่ไว้วางใจในการใช้บริการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้กับเราอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่นสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาทั่วประเทศไทย SCG และบริษัทลูกในเครือ AIS เป็นต้น ด้วยการบริการที่รวดเร็วโดยทีมงานมืออาชีพและสามารถแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและไม่ทำให้งบบานปลายการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของเราทำการตรวจสอบด้วยอุปกรณ์การตรวจสอบที่ทันสมัยและยังได้รับการสอบเทียบเครื่องมือตามมาตรฐาน ISO 17025 พร้อมใบรับรองเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจถูกระบบการทำงาน เรายังได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 ในทุกขั้นตอนการทำงานของเราสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างละเอียดอีกด้วย

FAQ

สถานประกอบการ และ โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ควรทำการตรวจสอบระบบ fire alrm ให้แน่ใจว่าระบบนั้นสามารถทำงานได้อย่างปกติ การตรวจสอบควรทำการตรวจสอบให้ครบคลุมทุกอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ปุ่มกดสัญญาณ การตรวจสอบควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบเนื่องจากตัวควบคุมสัญญาณมีวงจรที่สลับซับซ้อนหากไม่มีความชำนาญจะเกิดความเสียหายได้

การตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของเรานั้นทำการตรวจสอบโดยวิศวกรไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดหลังจากตรวจระบบ fire alarm เสร็จแล้วลูกค้าจะได้รับรายงานรับรอง 1 ฉบับพร้อมข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่างๆ

การตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เราต้องตรวจสอบจากแบบ single line diagram เนื่องจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้นั้นมีอุปกรณ์ต่อพ่วงในระบบจำนวนมากการตรวจสอบจึงควรต้องมีการวางแผนเพื่อให้การตรวจสอบนั้นทำได้ครบถ้วนไม่ตกหล่น หากลูกค้าไม่มีแบบ single line diagram สามารถให้ทางเราจัดทำให้ได้โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพียงเล็กน้อย

การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีอะไรบ้าง

  1. ทำความสะอาดอุปกรณ์
  2. ตรวจสอบและทดสอบอุปกรณ์
  3. ขันแน่นตามจุดต่อต่างๆของอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
  4. ฉีดหล่อลื่นด้วยน้ำยาคุณภาพในจุดที่เป็นสนิม

มาตรฐาน ISO 9001

iso 9001

ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำ

บริการ 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

มาตรฐานการบริการระดับสากล

เซฟสิริ (ประเทศไทย)